วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2567

SiliconVania

สนใจสั่งซื้อเกมนี้ : https://s.shopee.co.th/8f8CKfkZem

SiliconVania เกมสร้างเมืองที่ใช้ Mechanic หลายๆอย่างทำให้เกมมีความสนุกมาก ตัวเกมนี้ยังต้องการวางแผนระยะยาวๆเพื่อคะแนนในตอนจบอีกด้วย ตัวระบบทำคะแนนนั้นมีความน่าสนใจและทำให้ผู้เล่นนั้นต้องตัดสินใจดีๆก่อนที่จะลงการ์ดเพื่ไปเป็นคะแนนในตอนจบ

.

ธีมของเกมคือเราจะสร้างมหานครให้เหล่าแวมไพร์เข้ามาอยู่อาศัยกัน ต้องบริหารสถานณูปโภคให้ได้ตรงตามเงื่อนไขของสิ่งปลูกสร้างนั้นแต่อย่างที่บอกไปการนัลคะแนนนั้นจะอยู่กับการ์ดภารกิจที่เราเล่น ต่อให้เราต่อตรงตมเงื่อนไขทุกอย่างแต่ไม่ได้ลงการ์ดภารกิจที่นับคะแนนที่เราต่อมาก็จะศูนย์เปล่าไป

.

การเล่นนั้นผมจะอธิบายในรูปแบบ 3 ผู้เล่นขึ้นไป(2ผู้เล่นจะมีวิธีที่แตกต่างออกไปนิดหน่อย)

ตัวเกมจะแบ่งออกเป็น 4 Phase หลักๆ

1. Refresh - ในช่วงนี้ของเกมเราจะทำการเติมการ์ด Specialists(การ์ดที่จะใช้เล่นและเป็นการ์ดที่เราไว้เลือกเป็นภารกิจทำคะแนนอยู่ในใบเดียวกัน) เราจะเติมเท่ากับจำนวนผู้เล่น และทำการเติม Building Tiles แถวละ 2 อันตามจำนวนผู้เล่น(ถ้าเล่น 3 คนก็จะมี 3 แถว แถวละ 2 อัน)

.

2. Bidding Selection - เราทำการประมูลลำดับการเล่นด้วยการลงการ์ด 2 ใบ การใบเล็กในเกมจะเรียกว่า Silent การ์ด จะมีเลข 1-7 แต่ละใบจะมีความสามารถเมื่อลงเล่นและแต่ละคนนั้นจะได้รับตัวเลขชุดนี้เหมอืนกันคือเลข 1-7 ไม่ซ้ำกัน(มี 7 ใบตอนเริ่มเกม)

เวลาผู้เ่ลนจะลงการ์ดเพื่อประมูลจะต้องทำ 2 อย่าง

- ลง Silent การ์ด 1 ใบ

- ลง Specialist การ์ด 1 ใบ

เมื่อผู้เล่นทุกคนลงครบแล้วเกมก็จะเข้าสู่ช่วงต่อไป

.

3. Building Tile Resolution - ในช่วงนี้ของเกมให้ผู้เล่นทำการหงายการ์ดที่ตัวเองลงไว้เปิดขึ้นทั้ง 2 ใบ ให้ทำการเทียบเพือ่หาผู้เล่นคนแรกในรอบนี้

- เทียบ Silent การ์ดใครเลขเยอะที่สุดจะได้ไปก่อน ใน Silent จะมีความสามารถเมื่อเล่นอยู่ดังนี้

a. การ์ดเลข 1-2 เมื่อเล่นจะได้รับ Vampire 1 ตัว

b. การ์ดเลข 3 เมื่อเล่นจะได้หยิบ Silent การ์ดคืนจาก Discard Pile นั่น 1 ใบมาไว้ในมือ

c. การ์ดเลข 4-5 ไม่มีความสามารถพิเศษ

d. การ์ดเลข 6-7 เมื่อเล่นจะเสีย Vampire จากพื้นที่ของเราตามจำนวนที่อยู่บนการ์ด

ในกรณีที่เปิด Silent การ์ดแล้วพบว่ามีคนลงตัวเลขเท่ากันให้เราไปเทียบเลขบนตัว Spectialist  ผู้เล่นที่เลขสูงกว่าจะไปก่อน

.

เมื่อเราได้ลำดับการเล่นเรียบร้อยแล้ว ผู้เล่นจะทำการเลือก Tile Building การเลือก Tile นั้นจะทำการเลือก 1 แถวจะได้รับ Tile ทั้ง 2 อัน และการวางนั้นจะวางตรงไหนก็ได้บนบอร์ดของเราที่มีขนาด 4x4 เมื่อวาง Building Tile เมื่อวาน Building Tiles บางอันนั้นจะให้ผลประโยชน์บางอย่างจะดูได้ที่มุมซ้ายบนของ Tile เช่น ได้ตัว Vampire เพิ่ม, ได้ Innovation หรือ Survival เพิ่ม

อธิบาย Innovation กับ Survival จะแทนด้วยรูปแว่นขยายสีขาวและมือสีแดง ทุกครั้งที่เราได้มาจะจากการวาง Tile หรือการเล่น Specialist ให้เราทำการขยับ Track ที่ตรงกับสัญลักษณ์นั้นขึ้น 1 Track และเมื่อ Track ไปตกยังผลประโยชน์ต่างเราก็จะได้รับด้วย

.

เมื่อวาง Buidling Tile เสร็จกันทุกผู้เล่น จะทำการ Discard Silent Card ลงสู่ Discard ของเราแบบคว่ำและเราก็จะไปต่อสู่ช่วงต่อไป

.

4. Specialist Card Resolution - ให้ผู้เล่นทุกคนทำการดูลำดับเลขการ์ดของ Specialist การ์ดของแต่ละคนผู้เล่นที่ลงเลข Specialist การ์ดสูงสุดนั้นจะได้เล่นก่อน

การเล่นในช่วงนี้นั้นจะเริ่มจากการทำคำสั่งบนการ์ด Specialist กันก่อนซึ่งตัวเกมออกแบบมาเป็นรูปภาพและมีคำอธิบายภาษาอังกฤษดูแล้วเข้าใจง่าย เมื่อเล่นจบก็จะทำการเลือก Specialist การ์ด 1 ใบ ขึ้นไปไว้บนมือและใบที่เล่นจะทิ้งลงสู่ Discard ของเราแบบคว่ำ

เมื่อใดก็ตามที่เราทำการ Discard Specialist การ์ดใบที่ 4 และมากกว่า ผู้เล่นจะต้องทำการเล่นการ์ด 1 ใบจากบนมือลงมาเปิดไว้ข้างห้นาตัวเองเพื่อที่จะใช้การ์ดใบนั้นในการนับคะแนนตอนจบเกม พูดง่ายๆคือในรอบที่ 4 ขึ้นไปหลังจากที่ Discard Specialist การ์ด เราจะต้องลง Speciailist การ์ด 1 ใบจากบนมือเพือ่เป็นเงื่อนไขนับคะแนนในตอนจบลงเรา แต่จะมีเงื่อนไขในการนับคะแนนคือ การ์ด 1 ใบจะนับคะแนนได้สูงุสดไม่เกิน 12 คะแนนต่อใบและลงการ์ดแบบเดียวกันได้สูงสุดไม่เกิน 3 ใบ พูดง่ายคือเมื่อจบรอบ 4 เป็นต้นไปผู้เล่นจะต้องทิ้งการ์ดบนมือ 1 ใบมาเปิดไว้เพื่อเป็นเงื่อนไขการทำคะแนน ตอนจบเมผู้เ่ลนทุกคนจะมีการ์ด 5 ใบ ไว้ทำคะแนน

เงื่อนไขในการนับคะแนนนั้นจะถูกแบ่งตามSpecialist การ์ดตามนี้

1. Ground Keeper(สีเขียว) - จะได้คะแนนตาม Tile Park ที่อยู่ติดกับที่อยู่อาศัยที่มีแวมไพร์อาศัยอยู่อย่างน้อย 1 ตัว หากเงื่อนไขครบจะได้คะแนน 2 คะแนนต่อ 1 Tile Park

2. Doctor(สีแดง) - จะได้คะแนนตามสัญลักษณ์ Survial(รูปมือ) ที่อยู่ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 Tile ขึ้นไป จะได้รับ Tile ละ 2 คะแนน

3. Techie(สีเหลือง) - จะได้คะแนนตาม Tile Innovation(รูปหลอดไฟ) ที่อยู่ไม่ติดกัน Tile ละ 2 คะแนน

4. Resident(สีม่วง) -  จะได้รับ 3 คะแนนจาก Tile Neighborhood(สีม่วง) ที่มีเงื่อนไขครบ คือรอบๆ Tile Neighborhood อันนั้นจะต้องมี Tile 3 อันที่แตกต่างกันไม่นับ Tile Neighborhood 

5. Engineer(สีน้ำเงิน) - จะได้รับ 3 คะแนนคะแนนจากแถวCloumn(บนลงล่าง) โดยที่ Tile ในแถวนั้นจะต้องมีสีไม่ซ้ำกันและ 1 ใน 4 Tile นั้นจะต้องเป็น Metro Station

6. Sale Rep.(สีส้ม) - จะได้รับ 3 คะแนนจาก Tile Mall โดยที่เราจะคิดคะแนนถามแถวRow(ซ้ายไปขวา) ที่มีแวมไพร์อาศัยอยู่รวมกันมนแถวที่มี Mall อยู่อย่างน้อย 3 ตัว นับเป็นแถวต่อให้เรามี Mall มากกว่า 1 อันในแถวก็จะได้แค่ 3 คะแนน

7. Noble(สีเทา) - จะได้คะแนน 3 คะแนนเมื่อ Tile Mausoleum อยู่ติดกับ Tile Blood Bank

.

เกมจะเล่นไปจนกระทั้งครบ 8 รอบ เราก็จะทำการมานับคะแนนกัน

การนับคะแนน

1. ผู้เล่นคนใดมี Tile ครบ 7 สี จะได้รับคะแนนพิเศาเพิ่มขึ้น 5 คะแนน

2. ผู้เล่นที่มีสัญลักษณ์สัตว์จะได้คะแนนตามจำนวนที่เราสะสมสได้(สัญลักษณ์ส่วนใหญ่จะได้จากการวางTile Park

3. ได้ 1 คะแนนต่อ 1 แวมไพร์ที่มีบ้านอยู่ ในตอนจบเกมเราจะได้เอาแวมำพร์มาวางบนกระดานของเราได้ทั้งหมดเพื่อทำการเช็คคะแนน

4. สัญลักษณ์หยดเลือด ให้ผู้เล่นเลือกเส้นทางที่มีหยดเลือดต่อเนื่องกันยาวที่สุด 1 พื้นที่บนกระดานของตัวเอง และนับพื้นที่นั้นหยดเลือดละ 1 คะแนน

5. นับ Tile Council Contact อันละ 2 คะแนนหากมีครบ 3 อันหรือมากกว่าจะได้คะแนนพิเศษเพิ่มอีก 5 คะแนน

6. คะแนนจาก Specialist ที่เล่นเอาไว้ตั้งแต่รอบที่ 4 ถึงรอบสุดท้ายเอาเงื่อนไขของแต่ละใบมานับคะแนน

.

รวมคะแนนทั้งหมดใครไดเยอะสุดก็จะเป็นผู้ชนะในเกมนี้

.

AFK Idea - เป็นเกมสร้างเมืองที่จะต้องวางแผนจากการ์ดบนมือตั้งแต่ต้นเกมกันเลยก็ว่าได้ ตัวเกมเล่นไม่ยาก จุดที่อยากคือต้องทำความเข้าใจวิธีทำคะแนนให้ได้ทั้งหมดก่อนซึ่งต้องใช้เวลาอธิบายพอควรแต่ก็ไม่นานนัก ตัสเกมมี Replay สูงเพระากลยุทธ์ที่เราต้องใช้เล่นจะต้องอิงจากการ์ดบนมือและการ์ดที่ถูกเปิดระหว่างเกมด้วย เป็นอีกเกมดีๆที่อยากให้ลองเล่นกัน

.

#AFKzoneNextGen #BoardGame #ShopeeTH #ShopeeBoardGame #AFKreview #SiliconVania







วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2567

Dream Home

สนใจสั่งซื้อเกมนี้ : https://s.shopee.co.th/30TUqwLeap

วันนี้ชวนออกแบบบ้านในฝัน แอลขอเสนอเกมสำหรับครอบครัวที่น้องประมาณ 7-8 ขวบเล่นได้ นั่นก็คือ Dream Home นั่นเอง เป็นเกมที่เราจะทำการสลับกันเลือกการ์ดที่เปิดอยู่ในพื้นที่ตรงกลาง ซึ่งเป็นการ์ดช่วยเหลือและการ์ดห้องต่างๆที่เราจะนำมาต่อกันถายในกระดานที่เป็นบ้านของเรา หากเราสามารถต่อได้ตามเงื่อนไขต่างๆ ของห้องก็จะได้รับคะแนนไปใครสามารถทำคะแนนได้เยอะที่สุดก็จะชนะไปในเกมนี้ 

.

เริ่มต้นเกมผู้เล่นจะทำการสลับการ์ดแยกประเภทการ์ดเป็น 2 กอง กองแรกเรียกว่า Resource เมื่อสลับแล้วให้นำมาเปิดในกระดานกลางที่มี 4 ช่อง ส่วนการ์ดอีกประเภทเรียกว่า Room Card ให้ทำการสลับเช่นกันและทำการเปิดให้ครบ 5 ช่อง หลังจากนั้นผู้เล่นจะได้รับกระดานบอร์ดของตัวเองผู้เล่นที่มีอายุน้อยที่สุดจะเป็นผู้เล่นคนแรกในเกมนี้

.

วิธีเล่นเกมนี้ Phase ของเกมไม่ซับซ้อนและตรงไปตรงมาผมถึงบอกว่าเกมนี้เหมาะสำหรับครอบครัวและน้องๆนั่นเอง ตัวเกมจะประกอบไปด้วย 12 รอบ(รู้ได้ว่าครบด้วยการ์ดในกองจั่วหมด) ผู้เล่นจะทำการเลือกการ์ด 1 แถว เวลาเลือกแถวไหนจะได้รับการ์ด Resource 1 ใบและ Room 1 ใบ ยกเว้นแถวแรกสุดซึ่งจะได้การ์ดRoom ใบเดียวแต่จะได้เล่นเป็นผู้เล่นคนแรกในรอบต่อไป หากในรอบการเล่นนั้นไม่มีใครเลือกแถวซ้ายสุดผู้เล่นคนแรกจะเป็นของผู้เล่นคนเดิมที่ถือ 1st Player Marker อยู่

.

กติกาการวาง Room Card

- Room ห้องวางลอยในอากาศ เช่นถ้าเราจะวางบนชั้น 2 เราก็ต้องมี Room Card ในชั้นที่ 1 รองรับอยู่ด้วย


- ในชั้นใต้ดินของบ้านจะวางด้วยการ์ด Room สีเขียวเข้มซึ่งเป็นห้องเฉพาะห้องของชั้นใต้ดินเท่านั้น ห้องธรรมดาจะวางในชั้นใต้ดินไม่ได้และห้องสำหรับวางในชั้นใต้ดินนั้นก็วางบนชั้น 1-2 ไม่ได้ด้วยเช่นกัน


- เมื่อวางห้องแล้วขนาดของห้องนั้นถึงขนาดสูงสุดที่กำหนดไว้(จะมีบอกไว้บนการ์ดห้องแต่ละใบ)จะวางห้องนั้นต่อออกไปไม่ได้อีก ถ้าห้องบอกว่าขนาดสุด 2 ห้อง เราจะวางห้องเดียวกันใบที่ 3 ต่อเนื่องออกไปอีกไม่ได้ต้องวางเป็นห้องอื่นหากต้องการจะวางการ์ดห้องนั้นเราสามารถพลิกการ์ดห้องเป็นด้านหลังซึ่งจะถือว่าวางต่อได้ทุกห้องแต่จะไม่นับเป็นห้องชนิดไหนในบ้านเลย

.

มาดูการ์ดอีกแบบกันบ้างนั่นคือ Resource Card นั่นเองจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ

1. Roof Card การ์ดหลังคา เมื่อหยิบการ์ดประเภทนี้ผู้เ่ลนจะต้องทำการจำการ์ดสีของหลังคาเอาไว้และทำการวางคว่ำไว้บนกระดานของเรา จากนี้จนจบเกมจะไม่สามารถเปิดดูได้อีกและตอนจบเราจะเลือกการ์ดหลังคาสีใบมาสร้างเซทเพื่อทำคะแนนในตอนจบอีกด้วย


2. Decor Card การ์ดตกแต่งเมื่อเราหยิบการืดใบนี้มาจะต้องวาง Decoration ที่ตรงกับการ์ดนั้นทันที Decoration นั้นจะระบุสีว่าจะต้องวางที่ห้องไหน เมื่อวางแล้วห้องนั้นจะถือว่าวางห้องสีเดียวกันต่อไม่ได้แล้ว เช่น ถ้าผมวาง Decor เตียงในห้องนอนที่มีขนาด 1 ใบ(ตามปกติห้องนอนจะสามารถขยายได้สูงสุด 2 ใบ) ผมจะเอาการ์ด ห้องนอนอีกใบมาวางต่อไม่ได้แล้ว


3. Tools Card เป็นการ์ดเครื่องมือเอาไว้สำหรับช่วยเหลือในการเลือการ์ด หรือเอาไว้สลับตำแหน่งการ์ดก่อนเลือกทำให้เรามีความสะดวกแล้วได้รับสิ่งที่เราต้องการจากการเลือการ์ดมาไว้ในบ้านเรา


4. Helper Card เป็นการ์ดที่เอาไว้ใช้ตอนจบเกมเมื่อเราได้มาให้ทำการเปิดไว้ในพื้นที่ของเราการ์ด Helper บางใบทำให้เราสามารถนับคะแนนได้เพิ่มขึ้นตามเงื่อนไข หรือหยิบการ์ดที่อยู่ใน Discard ตอนจบก่อนที่จะเริ่มนับคะแนนมาเป็นของเราได้อีกด้วย จะแตกต่างกับ Tool Card ที่เอาไว้ใช้งานระหว่างเล่น

.

เกมจะสลับกันเลือกการ์ดและวางการ์ดเมื่อผู้เล่นทุกคนเลือกครบหมดก็จะทำการทิ้งการ์ดที่เหลืออยู่บนกระดานกลางทั้งหมดลง Discard Pile และทำการเปิดใหม่มาเติมให้เต็ม เกมจะเล่นจนการ์ดหมด เมื่อหมดก็จะทำการนับคะแนน

.

เงื่อนไขการนับคะแนน

- เราจะเริ่มนับคะแนนจากห้องทุกห้องในบ้านเราก่อนแต่ละห้องก็จะมีคะแนนตามขนาดของห้อง

- Decor ที่อยู๋ในแต่ละห้องจะได้คะแนนตามการ์ด Decor ที่มีวางอยู๋ในห้องเป็นคะแนนพิเศาที่เพิ่มขึ้นมาหากเรามีวางไว้

- คะแนนพิเศษถ้าบ้านของเรามีห้องน้ำทั้งชั้น 1 และ 2 จะได้คะแนนเพิ่ม 3 คะแนน

- คะแนนพิเศษถ้าบ้านของเรามี ห้องน้ำ ห้องครัว และห้องนอน จะได้เพิ่มอีก 3 คะแนน

- คะแนนจากหลังคา


คะแนนจากหลังคา

ถ้าเรามีหลังคาต่างสีกันจะได้คะแนนที่ 3 คะแนน

ถ้าเรามีหลังคาสีเดียวกันจะได้คะแนนที่ 8 คะแนน

ถ้าหลังคาที่เราเลือกมีหน้าต่างจะได้เพิ่มหน้าต่างละ 1 คะแนน

.

นำคะแนนทั้งหมดมารวมกัน ผู้เล่นที่ได้คะแนนเยอะที่สุดก็จะชนะไปในเกมนี้

.

AFK Idea - เป็นเกมครอบครัวที่เหมาะกับน้องๆ ด้วยภาพที่สุดใสและระบบการเล่นที่ไม่ซับซ้อน อาจมีภาษาบ้างแต่สามารถแปลให้น้องๆได้ เพราะเราจะเลือกการ์ดจากพื้นที่กลางแค่มีคนแปลคนเดียวก็สามารถเล่นได้ทั้งหมด ภาษาไม่ได้ยากเกินเข้าใจ เป็นอีกหนึ่งเกมที่แอลอยากเอามาแนะนำให้ได้รู้จักกัน

.

#AFKzoneNextGen #BoardGame #AFKreview #DreamHome #ShopeeTH #ShopeeBoardGame